วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6

  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันที่ 29 กรกฎาคม 2564

 ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 

บทที่ 4  การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง



    การจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงนั้น แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงสามารถนําหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน คือแบบจําลอง ADDIE Model ทั้งองค์ประกอบ 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนําไปใช้ และการประเมินผลมาเป็นแนวทางเพื่อการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงได้เช่นเดียวกับการสอนในห้องเรียนปกติมีรายละเอียดตัวอย่างดังนี้
1. การวิเคราะห์   ในการออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงควรดําเนินการวิเคราะห์ รายละเอียด 5 ด้าน  คือ วิเคราะห์ความจําเป็น , วิเคราะห์เนื้อหา หรือกิจกรรมการเรียนการสอน , วิเคราะห์ผู้เรียน , วิเคราะห์วัตถุประสงค์ , วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
2. ออกแบบ
     2.1 การเขียนผังงาน การออกแบบ storyboard เพื่อจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละส่วนบท
ดําเนินเรื่อง และการออกแบบบทเรียน ภาพ ข้อความ เสียง หรือมัลติมีเดีย กิจกรรมการเรียนการกำหนด ปฏิสัมพันธ์การเรียน และการประเมินผล
    2.2 การนําตัวบทเรียนที่ผ่านการออกแบบและวิเคราะห์จากขั้นวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นการเรียนอีเลิร์นนิง
3. พัฒนา ขั้นพัฒนาเป็นขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติการสร้างบทเรียนตามผลการออกแบบจากขั้นตอนที่สอง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยผู้มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก นักคอมพิวเตอร์ผู้ดูแลและจัดการระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS :learning management system)
4. นําไปใช้ การนําเสนอการเรียนผ่านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนเผยแพร่บนระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์(network) และสู่การนําไปจัดการเรียนการสอนจริง
5. ประเมิน  การประเมินการวิเคราะห์ การประเมินการออกแบบ การประเมินการพัฒนาและการประเมินเมื่อนําไปใช้จริงของระบบอีเลิร์นนิง โดยกระทำระหว่างดำเนินการ คือการประเมินระหว่างดําเนินงาน (formative evaluation) และประเมินภายหลังการดําเนินงาน (summative evaluation) การประเมินจะทำให้ผู้พัฒนาทราบข้อมูลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในขั้นตอนต่าง ๆ       
          ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น โดยใช้พื้นฐานการออกแบบการสอนในที่นี้ได้เน้นโดยใช้แบบจําลองการสอน ADDIE และมีตัวอย่าง แนวคิดการออกแบบการสอนแบบอีเลิร์นนิงมีสามแนวคิด เพื่อให้ผู้อ่านได้เป็นแนวทางสู่การออกแบบการสอนอีเลิร์นนิงของตนเองต่อไป ซึ่งการออกแบบการสอนควรต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ ร่วมกันจะทําให้ประสบความสําเร็จในการสอนด้วยอีเลิร์นนิง

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5

  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันที่ 22 กรกฎาคม 2564

        เนื่องจากวันพุธ ที่ 21 กรกฎาคม 2564 ตรงกับวันวันอีฎิ้ลอัดฮา เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ดำเนินการปฏิบัติตามศาสนกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาจึงประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2564 โดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป 
       

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

 ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 

บทที่ 3


           อีเลิร์นนิ่ง หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้ การจัดการเรียนการสอนด้วยอีเลิร์นนิ่ง มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ ใช้ความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ

ข้อดีของอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ ความสะดวกสบาย,ความสัมพันธ์กับปัจจุบัน,ความเร็วแบบทันทีทันใด,ความเป็นเลิศของระบบ,การมีปฏิสัมพันธ์,ความเป็นสหวิชาการ

ข้อจำกัดของอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ การเรียนออนไลน์มีข้อจำกัดการให้ผลสะท้อนกลับ,อีเลิร์นนิ่งทำให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมแบบโดดเดี่ยวได้,อีเลิร์นนิ่งต้องสร้างแรงจูงใจภายในและมีทักษะจัดการเวลา,ผู้เรียนออนไลน์ขาดการพัฒนาทักษะการสื่อสาร 

    ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ e-learning ที่สำคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่า  "ระบบบริหารการเรียน"

    LMS คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ 

    มูเดิ้ล หรือ Moodle ย่อมาจากคำว่า Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment (Moodle, 2020) เป็นซอฟต์แวร์ประเภทระบบบริหารจัดการรายวิชา พัฒนาเนื้อหา และสร้างกิจกรรมการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง จัดอยู่ซอฟต์แวร์ประเภทที่เรียกว่า Learning and Course and Management System: LCMS หรือ มักนิยมเรียกว่า Learning Management System: LMS 

     สรุป อีเลินนิ่งและระบบจัดการสำหรับการจัดการระบบอีเลิร์นนิ่งด้วย LMS นั้น มี LMS ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายจำนวนมาก ทั้งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และซอฟต์แวร์เปิด (Open Source Software) เช่น Moodle LMS ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการหลักสูตร สร้างรายวิชา เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ บริหารผู้สอนและผู้เรียน สามารถติดตามประเมินผลการเรียนรู้ ติดตามพฤติกรรมผู้เรียนในระบบ รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้เรียนในติดต่อสื่อสารด้วย กล่าวโดยสรุป LMS มีองค์ประกอบระบบย่อย ๆ ภายใน ได้แก่ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) และ ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)




 


     

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3

  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันที่ 8 กรกฎาคม 2564

 ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 

บทที่ 2 


        อาจารย์ได้มอบหมายงาน ให้นักศึกษาทบทวนเนื้อหาบทเรียน บทที่1 บทนำ เพื่อที่จะได้สะสมแต้มแต่ละบท มีรางวัลคะแนนรวมสูงสุด Top 10  , ทำแบบทดสอบ (หลังเรียน) บทที่1 บทนำ และทำแบบทดสอบ (ก่อนเรียน) บทที่ 2

เนื้อหาบทที่ 2 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning)

          การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning) จะเป็นเรียนทางผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ บวกเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์คุณภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง เกิดความสะดวกและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร

ข้อดีของการเรียนออนไลน์ ได้แก่ สามารถเลือกเวลาเรียนได้ตามความต้องการ, ทบทวนการเรียนตรงจุดที่ไม่เข้าใจได้ตลอด , ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะมาก, เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

    แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism เชื่อว่าการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้โดยการนำประสบการณ์ หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อม หรือสารสนเทศใหม่ ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ ความรู้เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง หรือที่เรียกว่า สกีมา (Schema)

   นวัตกรรมการเรียนออนไลน์

- Web-based Instruction , - E-Learnimg/E-Training , - Social Media Learning  ,- M-Learning  ,- Virtual Classroom

บทบาทผู้สอนและผู้เรียนออนไลน์

หลักการสอนออนไลน์ที่ดี 7 ประการ ได้แก่

1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนติดต่อสื่อสาร

2.สนับสนุนให้ผู้เรียนร่วมมือเรียนรู้ร่วมกัน

3.เสริมสร้างกิจกรรมการเรียนแบบ กระตือรือร้น

4.ให้ผลย้อนกลับสม่ำเสมอพร้อมตอบสนองผู้เรียน

5.เน้นใช้เวลาการเรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรม

6.การสื่อสารกับระบบเป็นสิ่งที่ ผู้เรียนคาดหวังสะดวกและชัดเจน

7.ต้องเชื่อมั่นว่าการเรียนรู้มีหลากหลายรูปแบบหลายวิธีการ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

- แบบประสานเวลา (Synchronous Learnin

- แบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning)

- แบบผสม (Hybrid Learning)

การประเมินผลการเรียนออนไลน์

          - ประเมินระหว่างเรียน (Formative Assessment)

          - ประเมินผลสรุป (Summative Assessment)

วันฮารีรายออิฎิลอัตฮา

    วันฮารีรายออิฎิลอัตฮา  เสียงตักบีร : วันฮารีรายอ    วันอิดิ้ลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เป็นวันเฉลิมฉลองการเชือดสัตว์เพื่อพลีทาน โดยวันสำคั...