วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันที่ 5 มีนาคม 2563




          อาจารย์ติดราชการด่วน   ซึ่งอาจารย์ได้มอบหมายงานให้  โดยแต่ละกลุ่มจองห้องติว ที่ห้องสมุด จากนั้นทำการบันทึกลงใน Blogger ของตนเอง และในวันนั้นได้ดำเนินจัดทำโครงงาน  บทที่ 1 ,  บทที่ 2  ,  บทที่ 3  
           ได้ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางระบบของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย สร้างความรับผิดชอบในที่ได้รับมอบหมาย และพัฒนาระบบด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ ความรู้  ทักษะ  และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละประเภทนั้น ๆ

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563




             อาจารย์ได้อธิบาย Web Application กับ web service   มีความแตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง Web Application กับ Web Services
          ต่างกัน อันเนื่องจากจุดกำเนิด และ จุดประสงค์ของทั้งสองอย่างนั้น  Web Services นั้นเกิดมาจากการที่ Web Application ถูกพัฒนาได้จากหลาย ภาษา เช่น asp jsp php perl .... ทำให้การที่จะนำมารวมเพื่อร่วมทำงานด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก (เหมือนคุยกันคนละภาษา) Web Services จึงเหมือนกับภาษาสากล ที่ทำให้แต่ละ Web Application ทำงานร่วมกันได้ โดยผ่าน SOAP ที่มี รูปแบบเป็น XML ซึ่งเป็นเหมือนภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Web Services นั้น มีหลายตัว อาทิ เช่น AXIS วิธีทำนั้นก็ไม่ยาก ยิ่งถ้าใช้ IDE จะง่ายมากแค่ คลิก ๆ  ไม่กี่ที่ก็เสร็จแล้ว ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่การสร้าง แต่กลับอยู่ที่การนำไปใช้มากกว่า


           การทำงานของ Web Application นั้นโปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine  ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล  นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล   จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้นและการประมวลบางส่วนแต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บน Services ในลักษณะ Web Application แบบเบื้องต้น
            ฝั่ง Services จะประกอบไปด้วย Web Services ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับไคลเอนต์ตามโปรโตคอล HTTP/HTTPS โดยนอกจาก Web Services จะทำหน้าที่ส่งไฟล์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลตามมาตรฐาน HTTP ตามปกติทั่วไปแล้ว   เว็บเซิร์ฟเวอร์จะมีส่วนประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นตัวแปลภาษา เช่น Script Engine ของภาษา PHP  หรืออาจจะมีการติดตั้ง .NET Framework ซึ่งมีส่วนแปลภาษา CLR (Common Language Runtime) ที่ใช้แปลภาษา intermediate จากโค้ดที่เขียนด้วย VB.NET หรือ C#.NET  หรืออาจจะเป็น J2EE  ที่มีส่วนแปลไบต์โค้ดของคลาสที่ได้จากโปรแกรมภาษาจาวา เป็นต้น
       จากนั้น อาจารย์ได้ให้ นักศึกษาทำ PHP Tutorial ดังต่อไปนี้ และ อธิบายถึงการทำงานโครงงาน ตามแบบฟอร์มที่ได้กำหนด  ในแต่ละบทที่ได้มอบหมายในครั้ง ซึ่งได้แก่ บทที่ 1 บทที่ 2 และบทที่ 3










วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563




               ในสัปดาห์นี้ทางอาจารย์ติดรับเสด็จ และได้มอบมายให้ทำงานกลุ่มบทที่ 1-3 ตามแบบฟอร์ม ในกลุ่มของพวกเราเลยนัดสมาชิกภายในกลุ่มมาทำงานของใบโครงการ 1-3 และได้ทำพอยด์นำเสนอ E-R DIAGRAM
             การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม  ทำให้มีประสบการณ์ต่าง ๆ ในการทำงานกับเพื่อน  รู้จักวางแผนทำงานเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถยังมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในครั้งหน้าได้อีกด้วย  

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563




          ก่อนจะเริ่มเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำแบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ 3,4 จากนั่นให้ดาวโหลดโปรแกรม xampp for windows เพื่อสร้างตาราง ทำหน้าที่จำลองและได้ทดลองใช้ระบบด้วยภาษา php
    สุดท้ายนี้ สิ่งที่ได้รับในวันนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำไปเตรียมความพร้อมต่อการสร้างระบบกิจกรรมนักเรียนเบื้อต้นเเละยังสามารถนำข้อคิด หรือสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้จนก่อให้เกิดผลที่ดีตามมา เเละดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าดิฉันจะได้รับความรู้ ทักษะ เเละประสบการณ์ที่ดีจากรายวิชานี้อย่างเเน่นอน

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563




 ก่อนจะนำเสนอในส่วนของกลุ่มที่เหลืออาจารย์ได้อธิบายอาจารย์ได้อธิบายวงจรการพัฒนาระบบ (Systeme development life cycle) คือ กระบวนการทางความคิด เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอนรูปแบบวงจรพัฒนาระบบมี 7 รูปแบบ แต่บางหนังสือมี 5 รูปแบบ ได้แก่ 
1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project  Identification)               
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project  Initiating and Planning)                 
3. วิเคราะห์ระบบ (System  Analysis)                 
4. การออกแบบเชิงตรรก (Logic  Design)              
5. การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical  Design)                  
6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System  Implementation)              
7. การซ่อมบำรุงระบบ (System  Maintenance)
       
   กลุ่มที่ 4 จำนวนสถิติการศึกษาในระบบและนอกระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ในปีพ.ศ. 2561(สามจังหวัดชายแดนใต้)

วัตถุประสงค์ -เพื่อศึกษาอัตราส่วนการศึกษาในระบบและนอกระบบว่ามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดและศึกษา การเรียนการสอนในระบบและนอกระบบมีความแตกต่างอย่างไร
การศึกษาในระบบและนอกระบบ
การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบ แบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรวิธีการจัดการการเรียนการสอนและวัดผลที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบที่มุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์


         การศึกษาเป็นส่วนที่จะเข้ามาช่วยในการพัฒนาในหลายๆเรื่องจะเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้
และการศึกษาหรือความรู้จะไม่มีวันสิ้นสุดไม่ว่าจะเรียนในระบบ นอกระบบ โรงเรียนที่มีชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียง สุดท้ายแล้วมีความรู้ที่เท่าเทียมกัน อยู่ที่เราว่าจะขยันมากน้อยเพียงใด



กลุ่มที่ 5 การสอบ 9 วิชาสามัญ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อต้องการทราบจำนวนนักเรียนที่สนใจในการสอบ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี
2. เพื่อศึกษาสถิติคะแนนสอบของ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี

   พบว่าการสอบ 9 วิชาสามัญก็มีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักเรียนที่จะก้าวไปสู่ใระดับอุดมศึกษา สังเกตได้จากผู้ที่เข้าสมัครสอบที่มีจำนวนมาก เพราะว่าการสอบ 9 วิชาสามัญจะเป็นการวัดความรู้ขั้นพื้นฐานของนักเรียนที่จบมาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและการสอบเข้ามหาวิทยาลัยบางสาขาวิชาก็ต้องการผลคะแนนสอบ


     กลุ่มที่ 6 ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 - 2561

วัตถุประสงค์
1. เพื่อรู้ผลการสอบ O-NET ในแต่ละปีว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานมากน้อยเพียงใด.
2. เพื่อได้รู้การวัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียนทั่วประเทศ.
3. เพื่อได้รู้ว่าคะแนนการทดสอบในแต่ละปีมีการพัฒนาขึ้นหรือน้อยลง.












วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 9

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันที่ 30 มกราคม 2563





           เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจประชุมการติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เลยให้แต่ละกลุ่มที่เหลือเตรียมตัวนำเสนอในครั้งต่อไป โดยมีกลุ่มที่ 2 , กลุ่มที่ 4 , กลุ่มที่ 5  และกลุ่มที่ 6 
และได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มจัดทำโครงงานระบบสารสนเทศในสถานศึกษาการออกแบบฐานข้อมูลจากระบบงานที่ได้เลือกไว้ และจากข้อมูลที่ไปศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนตาเบียร์ตุลวาตันมูลนิธิ และบันทึกผลการเรียนรู้ในการทำงานของแต่ละกลุ่มลงใน เว็บไซต์blogger.com
  

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 8

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันที่ 23  มกราคม 2563



  การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นครั้งแรกของเราได้ศึกษาข้อมูลทางโรงเรียนเพื่อจะนำไปพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยทางเรามีระบบสารสนเทศอยู่6ระบบ ได้แก่ ระบบสารสนเทศประวัตินักเรียน , ระบบสารสนเทศผู้บริหารและบุคลากร , ระบบสารสนเทศกิจกรรมของนักเรียน , ระบบสารสนเทศวินัยของนักเรียน , ระบบสารสนเทศ , ระบบสารสนเทศห้องพยาบาล ซึ่งกลุ่มเราได้รับมอบหมายให้พัฒนาระบบสารสนเทศกิจกรรมนักเรียน จากที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลกับทางโรงเรียนก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม เช่น กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมเอียะตีกัฟ กิจกรรมกียามูลัย เป็นต้น และมีกฎเกณฑ์ในการเข้าร่วมกิจกรรม หากมีนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมก็มีจะบทลงโทษตามความเหมาะสม 

                                     

กิจกรรมลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการ
การพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน 
ณ โรงเรียนตาเบียร์ตุลวาตันมูลนิธิ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา
----------------------------------
รหัสนักศึกษา     406109018  ชื่อ-นามสกุล   นางสาวนูรีซา แซมมะซู
ระบบสารสนเทศสำหรับโรงเรียน ระบบย่อย (Module) ที่รับผิดชอบพัฒนา คือ  ระบบงานกิจกรรมนักเรียน
ประเด็นการเก็บรวมบรวมข้อมูล
1.ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน (จำนวนนักเรียน ครู ผู้บริหาร โครงสร้างการบริหาร หรืออื่น ๆ
   - จำนวนครู/บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน  150 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นอนุบาล  ชั้นประถม ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
     -จำนวนนักเรียนทั้งหมด  1600 คน  โดยรวมทั้งหมด ชั้นอนุบาล ชั้นประถม ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
2.ตัวอย่างระบบสารสนเทศ หรือสภาพปัจจุบันในการใช้ระบบสารสนเทศของโรงเรียน
       ระบบสารสนเทศของโรงเรียน  ได้แก่  ระบบตรวจสอบผลการเรียน  ซึ่งได้ใช้ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ทำให้มีรวดเร็วในการทำงาน และมีความทันสมัยมากขึ้น  โดยไม่ต้องปริ้นผลการเรียนติดที่บอร์ด สามารถดูผลการเรียนที่ไหน แล้วเวลาไหนก็ได้ , ระบบ RM  (ระบบงานทะเบียนวัดผล) ซึ่งจะมี ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตร แผนการเรียน บันทึกผลการเรียน เอกกสารหลักสูตร , ระบบ DM  (ระบบบริหารงานโรงเรียน / ธุรการ)  สถานศึกษา  นักเรียน , ระบบช่วยเหลือนักเรียน ,   ระบบรับสมัครนักเรียนใหม่ 
3.ปัญหา และอุปสรรคของการใช้ระบบสารสนเทศในโรงเรียน
       ทางโรงเรียน  ปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญ คือ เรื่องฮาร์แวร์ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถจัดการเรียนได้เต็มที ๆ ทำให้นักเรียนขาดพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนมีจำนวนมากของแต่ละห้อง เป็นจัดการเรียนการสอน 2 ระบบ
1. ระบบสมามัญ  ซึ่งระบบสามัญจะไม่มีปัญหาในด้านระบบสารสนเทศ สามารถปรับตัว ในการพัฒนาโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น
2. ระบบศาสนา จะมีปัญหาในด้านระบบสารสนเทศ ไม่สามารถปรับตัว เกิดความยุ่งยากในการใช้ระบบสารสนเทศ และไม่เปิดใจ
4.ระบบสารสนเทศหรือฐานข้อมูลที่โรงเรียนต้องการพัฒนา และต้องการนำมาใช้
   ทางโรงเรียนเสนอผู้บริหาร ในการต้องการติดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศทั้งหมดของโรงเรียน ไม่ว่าจะ รายชื่อนักเรียน รายชื่อบุคลากร
ต้องการศึกษาระบบสารสนเทศสแกนใบหน้าของเรียน เพื่อให้มีความสะดวกในโรงเรียน และที่เช็คนักเรียนเพื่อความรวดเร็ว ทันสมัยมากขึ้น
5.ลักษณะข้อมูล และวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่โรงเรียนใช้ในปัจจุบัน
          วิธีการจัดเก็บข้อมูลที่โรงเรียนใช้จะมีการแชร์ไฟล์ระหว่างกัน อาจจะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูล
ระบบ RM  (ระบบงานทะเบียนวัดผล) ซึ่งจะมี ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตร แผนการเรียน บันทึกผลการเรียน เอกกสารหลักสูตร , ระบบ DM  (ระบบบริหารงานโรงเรียน / ธุรการ)
6.ระบบสารสนเทศ  ดำเนินการอย่างไร
6.1 งานทะเบียนนักเรียน
        - ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนของโรงเรียน
      - จัดการรับมอบตัวนักเรียน พิมพ์รายชื่อนักเรียนใหม่ และตรวจสอบหลักฐานการรับมอบตัวนักเรียนจัดทำทะเบียนนักเรียนและให้เลขประจำตัวนักเรียนใหม่
6.2 บุคลากร
        -จัดทำแผนการใช้อัตรากำลังบุคลากรในสถานศึกษา
        - จัดทำแผนดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา
6.3. งานหลักสูตร
        -ประสานงานและจัดทำหลักสูตรร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
        -นิเทศการใช้หลักสูตรและให้คำแนะนำแก่ครู
     -ประสานงาน ดูแลการจัดตารางสอนทุกภาคเรียน และรวบรวมตารางสอน   ของครู  ตารางการใช้ห้องเรียน และตารางเรียนของนักเรียนให้มีความเหมาะสม
6.4. ห้องพยาบาล
        -จัดให้มีเอกสารสิ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ อย่างเพียงพอทันสมัยทางด้านวิชาการ
        -จัดทำสถิติ ประเมินผลการใช้ห้องสมุด
6.5. งานกิจกรรมนักเรียน 
        -วางแผน กำกับดูแล และนิเทศงานต่าง ๆ ของงานฝ่ายกิจการนักเรียน
       -ดูแล ควบคุม  และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในฝ่ายกิจการนักเรียน ให้มีการพัฒนาและมีประสิทธิภาพ
6.6. งานวินัยนักเรียนของโรงเรียน
      -อบรมสั่งสอน แนะนำ ให้คำปรึกษานักเรียนในด้านความประพฤติ  และการปฏิบัติตนตามระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน ประเพณีและค่านิยมอันดีงาม
       -ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา  พฤติกรรมชู้สาว  สื่อลามก  และการพนัน
7. งบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียน 
       -ไม่สามารบอกจำนวนเงินที่แน่นอนได้ 

   
         



วันฮารีรายออิฎิลอัตฮา

    วันฮารีรายออิฎิลอัตฮา  เสียงตักบีร : วันฮารีรายอ    วันอิดิ้ลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เป็นวันเฉลิมฉลองการเชือดสัตว์เพื่อพลีทาน โดยวันสำคั...